วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ไฟฟ้าสถิตในชีวิตประจำวัน

1. การเกิดไฟฟ้าสถิตย์ 
               โดยทั่วไปเราจะสามารถสังเกตเห็นปรากฎการณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย์ได้เมื่อเกิดปรากฎการณ์แบบใหญ่ๆ (Macroscopic) เช่นฟ้าแลบ, ฟ้าฝ่า เป็นต้น แต่จริงๆแล้ว ไฟฟ้าสถิตย์นั้นอาจจะเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลาในระบบเล็กๆ (Microscopic) ด้วย ตัวอย่างเช่นเสื้อผ้าที่ยับลู่ติดตัว, การเกิดฝุ่นหนาเกาะจับตามหน้าจอของเครื่องรับโทรทัศน์ 



2. หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตและคุณสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุ

       2.1 ประจุไฟฟ้าในสสาร  ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุแท้ก็คือ อะตอม ในอะตอมประกอบไปด้วยอิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียส และอะตอมในสภาวะปกติจะเป็นกลางทางไฟฟ้า นิวเคลียสเองจะเป็นแสดงอำนาจบวกเนื่องจากภายในนิวเคลียสประกอบด้วยนิวตรอน (เป็นกลางทางไฟฟ้า คือไม่แสดงอำนาจประจุไฟฟ้า) และโปรตอน (แสดงอำนาจบวก)

        2.2 ความนำไฟฟ้าของวัสดุและคุณสมบัติด้านไฟฟ้าสถิตย์  วัสดุหรือวัตถุที่อยู่ในชีวิตประจำวันสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆตามความสามารถในการนำไฟฟ้าคือ ตัวนำไฟฟ้าและฉนวน 
2.2.1 ตัวนำไฟฟ้า (Conductive)
         
วัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าคุณสมบัติที่สำคัญทางด้านไฟฟ้าสถิตย์ของตัวนำไฟฟ้า (เช่นโลหะ) คือประจุสามารถเดินทางได้เร็วบนพื้นผิวของมัน ทำให้ประจุบวกและประจุลบ รวมตัวกันได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งคุณสมบัตินี้จะทำให้ประจุบนตัวนำที่ไม่ได้ถูกต่อลงดินมีเพียงชนิดเดียว คือบวกหรือลบเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะส่วนน้อยที่เหลืออยู่จะถูกรวมหายไป 

2.2.2 ฉนวน (Insulator)
             
ตรงกันข้ามกับตัวนำไฟฟ้า ประจุจะเดินทางได้ยากบนวัสดุที่เป็นฉนวน ทำให้การรวมตัวระหว่างกันเกิดได้ยากหรือเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ผลที่เกิดขึ้นจากคุณสมบัตินี้คือ บางตำแหน่งของแท่งวัตถุที่เป็นฉนวนอาจจะเป็นบวกในขณะที่บางตำแหน่งของฉนวนจะมีประจุลบ นอกจากนี้แล้ว เรายังไม่สามารถถ่ายประจุจากวัตถุประเภทฉนวนลงดินได้ด้วยวิธีการต่อสายดิน เนื่องจากประจุไฟฟ้าเดินทางได้ยากบนฉนวนนั่นเอง ทั้งนี้ เมื่อต่อสายดินเข้ากับแท่งฉนวนที่ไม่เป็นกลาง ฉนวนนั้นก็ยังคงแสดงอำนาจประจุไฟฟ้าเหมือนเดิมอยู่
เกิดจากการที่อนุภาคของเถ้าภูเขาไฟเกิดการพุ่งชนกัน ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น



การทดลองการเกิดไฟฟ้าสถิต

      ถ้าความชื้นในอากาศต่ำมาก การเกิดไฟฟ้าสถิตบนผิวหนังจะเกิดขึ้นง่าย หรือเมื่อเกิดการสัมผัสกับวัสดุประเภทตัวนำจะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไปยังตัวนำอย่างรวดเร็ว  



3 ความคิดเห็น:

  1. ต้องมีแหล่งอ้างอิงมากกว่า 1
    ต้องเขียนเองไม่ลอก
    VDO สุดท้ายควรมีคำอธิบายด้วย จะ OK

    ตอบลบ
  2. ควรปรับอีกจึงจะ OK
    1.ข้อความใต้ VDO ตัดออก แต่อธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับตัวอย่างที่เกิดใน VDO เป็นข้อ ๆ ด้วยทฤษฎีไฟฟ้าสถิตย์
    2. สรุปแล้วไฟฟ้าสถิตเกิดได้อย่างไร..

    ตอบลบ
  3. ยังไมได้แก้ไขเลย..จะให้คะแนนได้ไง

    ตอบลบ